ประวัติหน่วยงาน, โครงสร้างหน่วยงาน, นโยบายและยุทธศาสตร์ต่าง, หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีปรากฏว่าพระเจ้าพรหมกุมารได้มาตั้งเมืองไชยปราการ ทางทิศตะวันออกของลำน้ำฝาง เมื่อ พ.ศ.1661
อ่านต่อกระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสมอภาค โดยการมีส่วนรวมของประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพให้คน ไทยทุกคนมีสุขภาพดี สู่เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
อ่านต่อช่องทางการติดต่อ,ที่อยู่,เบอร์โทร,แผนที่
ฉุกเฉิน เรียกรถโรงพยาบาลพร้อมบริการ24ชั่วโมง
เลขที่ 131 หมู่ที่ 3 ถนนโชตนา ตำบลศรีดงเย็น อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320
บริการสำหรับประชาชน
ข่าวสมัครงาน, ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง, ประชาสัมพันธ์, คำสั่งประกาศ
ตรวจสอบสิทธิต่างๆของประชาชนสิทธิหลักประกันสุขภาพ,สิทธิจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง..
ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ!คลิก
ตรวจสอบสิทธิจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง!คลิก
ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม!คลิก
ตรวจสอบสิทธิบัตรประกันสุขภาพ!คลิก
ตรวจสอบสิทธิจ่ายตรงกรมบัญชีกลาง!คลิก
ให้คะแนนความพึ่งพอใจกับเรา
โรงพยาบาลไชยปราการ!คลิ๊ก
ดาวห์โหลดเอกสารต่างๆสำหรับเจ้าหน้าที่ Workd Maill,CPK Dashboard,CMBIS..อื่นๆ
คำขวัญอำเภอไชยปราการ
“พระเจ้าพรหมสร้างเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม งามล้ำถ้ำตับเตา เมืองเก่าไชยปราการ”ลักษณะที่ตั้ง
อำเภอไชยปราการ เป็นอำเภอที่ 21 ในจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 510.9 ตารางกิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 128 กิโลเมตร มีเขตรับผิดชอบ 4 ตำบล 44 หมู่บ้าน สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สลับกับที่ราบเชิงเขา เป็นอำเภอที่มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้สภาพภูมิอากาศ
อำเภอไชยปราการตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อนปกคลุม ทําให้มีอากาศหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.8 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.2 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศร้อนที่สุดอยู่ในเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงที่สุดวัดได้ 42.5 องศาเซลเซียส ส่วนฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.8 องศาเซลเซียส โดยมีอากาศหนาวที่สุดอยู่ในเดือนมกราคม อุณหภูมิต่ำที่สุด 3.7 องศาเซลเซียสการคมนาคม
การคมนาคม ในอำเภอไชยปราการ ระหว่างตำบล และหมู่บ้านค่อนข้างสะดวกสบาย มีถนนลาดยางผ่านกลางหมู่บ้านเพื่อเชื่อมต่อกับชุมชน อื่น ส่วนตรอกซอยในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ทุกซอย ชาวบ้านนิยมเดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ และรถจักรยาน ซึ่งแทบทุกครัวเรือนจะมีรถจักรยานยนต์ไว้ใช้ ส่วนรถยนต์จะมีเฉพาะครัวเรือนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี โดยมากจะเป็นรถบรรทุก 4 ล้อ เพื่อไว้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ระยะทางห่างจาก จังหวัดเชียงใหม่ 128 กม. เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง โดยเส้นทางหลวงหมายเลข 107การเมืองการปกครอง
อำเภอไชยปราการประกอบด้วย 4 ตำบล 44 หมู่บ้าน 2 เทศบาล 2 องค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีรายละเอียด ดังนี้ตำบลปงตำ 8 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านปงตำ, หมู่ที่ 2 บ้านท่า, หมู่ที่ 3 บ้านปางควาย, หมู่ที่ 4 บ้านมิตรอรัญ, หมู่ที่ 5 บ้านป่ารวก, หมู่ที่ 6 บ้านห้วยม่วง, หมู่ที่ 7 บ้านห้วยบง, หมู่ที่ 8 บ้านทุ่งยาว ตำบลหนองบัว 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเด่น, หมู่ที่ 2 บ้านห้วย, หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัว ตำบลศรีดงเย็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1บ้านแม่ขิ, หมู่ที่ 2 บ้านแม่ขิหล่ายฝาง, หมู่ที่ 3 บ้านศรีดงเย็น, หมู่ที่ 4 บ้านอินทาราม, หมู่ที่ 5บ้านอ่าย, หมู่ที่ 7 บ้านทรายขาว, หมู่ที่ 9 บ้านดงป่าสัก, หมู่ที่ 15 บ้านเชียงหมั้น, หมู่ที่ 17 บ้านด้ง
หมู่ที่ 1 บ้านเด่น, หมู่ที่ 2 บ้านห้วยไผ่, หมู่ที่ 3 บ้านหนองบัว, หมู่ที่ 4 บ้านทา, หมู่ที่ 5 บ้านต้นโชค, หมู่ที่ 6 บ้านสันติวนา, หมู่ที่ 7 บ้านปง, หมู่ที่ 8 บ้านปาง, หมู่ที่ 9 บ้านป่าไม้แดง, หมู่ที่ 10 บ้านใหม่หนองบัว, หมู่ที่ 11 บ้านถ้ำผาผึ้ง (จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับเทศบาลไชยปราการ หมู่ที่ 1, 2, 3)
หมู่ที่ 1 บ้านแม่ขิ, หมู่ที่ 2 บ้านแม่ขิหล่ายฝาง, หมู่ที่ 3 บ้านศรีดงเย็น, หมู่ที่ 4 บ้านอินทาราม, หมู่ที่ 5 บ้านอ่าย, หมู่ที่ 6 บ้านร้องธาร, หมู่ที่ 7 บ้านทรายขาว, หมู่ที่ 8 บ้านหนองป่าซาง, หมู่ที่ 9 บ้านดงป่าสัก, หมู่ที่ 10 บ้านหัวฝาย, หมู่ที่ 11 บ้านกิ่วจำปี, หมู่ที่ 12 บ้านสันทราย, หมู่ที่ 13 บ้านถ้ำหนองเบี้ย, หมู่ที่ 14 บ้านปางมะขามป้อม, หมู่ที่ 15 บ้านเชียงหมั้น, หมู่ที่ 16 บ้านแพะเศรษฐี, หมู่ที่ 17 บ้านด้ง, หมู่ที่ 18 บ้านเวียงผาพัฒนา (จำนวนหมู่บ้านที่มีพื้นที่คาบเกี่ยวกับเทศบาลไชยปราการ หมู่ที่ 1, 2, 3, 4, 5, 7, 9, 15, 17)
หมู่ที่ 1 บ้านแม่ทะลบ, หมู่ที่ 2 บ้านป่าแดง, หมู่ที่ 3 บ้านป่างิ้ว, หมู่ที่ 4 บ้านดอยหล่อ, หมู่ที่ 5 บ้านดงฉิมพลี, หมู่ที่ 6 บ้านใหม่พัฒนา, หมู่ที่ 7 บ้านห้วยต้นตอง
สภาพเศรษฐกิจ
ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำนา ทำสวน เช่น กระเทียม หอม ลิ้นจี่ ลำไย ฯลฯ อาชีพรองลงมาเลี้ยงสัตว์ เช่น โคนม การประมง เช่น ปลาน้ำจืด เป็นต้น ซึ่งก่อให้เกิดรายได้ไม่สูงนัก เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่เป็นที่ราบมีน้อย และประชาชนมีพื้นที่ที่ถือครองไม่มากนัก บางส่วนไปขายแรงงานต่างถิ่นและไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งนำรายได้มาสู่ภูมิลำเนาค่อนข้างสูง ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น สามารถส่งบุตรหลานเรียนหนังสือได้มากขึ้น ส่วนน้อยเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขเป็นองค์กรหลักในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเสมอภาค โดยการมีส่วนรวมของประชาชน ชุมชน และทุกภาคส่วน เพื่อสร้างสังคมที่มีจิตสำนึกด้านสุขภาพให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพดี สู่เป้าหมายสังคมอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของประเทศ และระหว่างประเทศให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พัฒนาระบบบริการสุขภาพแบบองค์รวมทีมีประสิทธิภาพ เสมอภาคทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน โดยเน้นชัดสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐาน บริการเฉพาะทางและระบบบริการ การแพทย์ฉุกเฉิน การสร้างระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยทางสุขภาพ ส่งเสริมทุกภาคสวนของสังคมในการมีส่วนร่วม สร้างจิตสำนึกทางสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ พัฒนาศักยภาพด้านพฤติกรรมสุขภาพ พัฒนาระบบและกลไกการบริหารจัดการด้านสุขภาพ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กำหนดนโยบายทิศทางการวิจัย และการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านสุขภาพ
-ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 CLICK
-แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2566-2580) CLICK
-แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) CLICK
-แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 CLICK
-แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560-พ.ศ.2579) CLICK